ก้าวสู่จุฬาฯ อินเตอร์ไม่ใช่เรื่องยาก
บทสัมภาษณ์ อาจารย์บดีพงษ์ รัตนไกรคณากร
อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขา Aerospace Engineering, International School of
Engineering จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย: 2014-2016
นักเรียนส่วนใหญ่ที่สมัครเข้าเรียนสาขา Aerospace Engineering มองว่าสายอาชีพของสาขานี้คือการเป็นนักบิน
"อาชีพนักบินคือหนึ่งในอาชีพที่นักศึกษาที่เรียนจบจากสาขานี้เลือกที่จะเป็น นักบินเป็นสายอาชีพที่ค่อนข้างเปิดเผย จึงทำให้ผู้คนทั่วไปสัมผัสได้โดยตรงทั้งจากคนรอบข้างและสื่อ แต่ความจริงแล้ว การเรียน Aerospace Engineering จะทำให้ผู้เรียนสามารถแตกแขนงออกไปได้อีกหลายสายงาน เช่นงานออกแบบ งานวางโครงสร้าง งานวิเคราะห์และพัฒนาอากาศพลศาสตร์ หรือแม้กระทั่งในเรื่องของการออกแบบ UAV (unmanned aircraft) ซึ่งตัวผมเองก็เชี่ยวชาญด้านนี้เป็นพิเศษ สาเหตุที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้ หรือไม่ได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสายงานเหล่านี้นั้น เนื่องจากงานส่วนใหญ่เป็นงานที่ค่อนข้างเป็นความลับ อาทิเช่น การออกแบบอากาศยานไร้คนขับ หรืออาวุธขับเคลื่อนระยะไกล ซึ่งประเทศเราก็ได้มีการพัฒนาด้านนี้อย่างต่อเนื่อง มากไปกว่านั้น ประเทศไทยรวมไปถึงเพื่อนบ้านใน South East Asia ก็จัดได้ว่าเป็นเขตอุตสาหกรรมสำคัญในการผลิตชิ้นส่วนอากาศยานต่างๆอีกด้วย ซึ่งมีการวิเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญว่าในอีก10 ปีข้างหน้า South East Asia จะกลายเป็น Aviation Hub ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในปัจจุบันมีนักเรียนจำนวนมากสนใจที่จะเข้าเรียนระบบอินเตอร์ ซึ่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยคือมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศไทย อาจารย์มีข้อแนะนำอย่างไรในการเตรียมตัวของน้องๆมัธยมฯที่สนใจเข้าเรียน"
สิ่งสำคัญของการคัดเลือกนักเรียนเข้าศึกษาต่อนั้นก็คงจะเป็นผลคะแนนสอบ สำหรับคณะ
"วิศวกรรมศาสตร์ นักเรียนจะต้องมีผลคะแนนของ SAT Math Chemistry และ Physics ที่โดดเด่น และเนื่องจากน้องๆต้องใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักในการเรียน ผลคะแนนการสอบภาษาอังกฤษก็คือองค์ประกอบที่สำคัญเช่นกัน"
การสอบสัมภาษณ์มีความสำคัญมากน้อยแค่ไหน
"เนื่องจากมีผู้สมัครจำนวนมากในแต่ละปีการศึกษา และนักเรียนจำนวนมากมีคะแนนสอบที่สูงเท่าๆกัน การสอบสัมภาษณ์นั้นจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการคัดเลือกนักศึกษา ทางคณะมองหานักเรียนที่นอกจากจะมีความรู้ในคณะนั้นๆแล้ว เรายังคงมองหานักเรียนที่มีความรัก มี Passion ที่จะสามารถต่อยอดจากการเรียนไปสู่การทำงานในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ"
หลังจากได้รับคัดเลือก นักเรียนควรจะเตรียมตัวอย่างไรก่อนเปิดภาคเรียน
"ส่วนตัวผมแนะนำให้นักเรียนเริ่มทำความเข้าใจกับตัวหลักสูตรให้ชัดเจนก่อน อาทิ เป้าหมายของหลักสูตรนี้เรียนไปเพื่ออะไร จุดนี้จะมีความสำคัญอย่างมากับการวางแผนอนาคตทั้งในระหว่างการเรียน และการวางแผนก่อนจบซึ่งนิสิตจะต้องทำโครงการออกแบบที่มีความสำคัญกับตัวนิสิตมาก มากไปกว่านั้นความรู้ที่ดีในวิชา Physics โดยเฉพาะในเรื่องของ Mechanics, Materials, Fluid Mechanics และ Electricityโดยความรู้จากหัวข้อเหล่านี้นิสิตจะต้องนำไปใช้ในวิชาวิศวะอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นวิชา Aircraft Structure, Aerodynamics, Aircraft Propulsion, Avionics และอีกมากมาย ถ้าหากนิสิตสามารถเข้าใจถึงแก่นวิชาของ Physics ในหัวข้อดังกล่าว การเรียนในมหาลัยก็จะไม่ยากอย่างที่คิดเลย นอกจากนี้ นักเรียนควรจะมีพื้นฐานของ Mathematics และ Calculus ที่ดี เนื่องจากเกือบทุกวิชาจะต้องใช้ความรู้ Calculus มาผสมอยู่ตลอดเวลา
อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ของผมที่สอนนิสิตสาขานี้มา นิสิตที่สามารถไปถึงจุดหมายที่ต้องการได้คือนิสิตที่ไม่ได้มีเพียงความรู้อย่างเดียว แต่ยังมีความสามารถในการคิดเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกมองข้ามแต่กลายเป็นว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในการแก้ปัญหาในงานวิศวะ รวมไปถึงการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆที่สังคมไม่เคยเห็นมาก่อน สิ่งนี้สามารถถูกฝึกได้ เพียงแต่ไม่ง่ายนักเนื่องจากไม่ใช่องค์ความรู้ที่จับต้องได้ อย่างไรก็ตาม จากงานวิจัยต่างๆชี้ชัดว่าการฝึกศิลปะก็เป็นหนึ่งในรูปแบบการเรียนรู้ที่สามารถช่วยในเรื่องนี้ได้แน่นอน และมีอีกหลากหลายวิธีซึ่งนักเรียนสามารถค้นคว้าได้ ผมแนะนำว่าอย่ามองการเรียนวิศวะเป็นเรื่องของการทำโจทย์และการทำข้อสอบ เนื่องจากวิศวกรณ์คือคนที่จะต้องสร้างสรรค์อะไรใหม่ๆออกมาให้กับสังคมอยู่เสมอ"
ปัจจุบันนี้อาจารย์บดีพงษ์คือหนึ่งในทีมนักวิจัย Unmanned Aircraft Vehicle หรือที่เรารู้จักกันในชื่อเรียกสั้นๆว่า UAV ที่ Delft University of Technology ประเทศเนเธอร์แลนด์ และเชื่อว่าอีกไม่นานอาจารย์จะสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่โดนเด่นอีกมากมายออกสู่สากล
Comments